พาทัวร์หัวใจด้วยเทคโนโลยีวีอาร์
เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual Reality เริ่มมีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์มากขึ้น อย่างล่าสุด ทีมแพทย์ร่วมมือกับนักพัฒนาเทคโนโลยีวีอาร์ สร้างหัวใจเสมือนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยและครอบครัวในการผ่าตัดหัวใจ
โบ อาย และเด็กชายโอไรออน อาย วัย 12 ปี เข้าใจส่วนต่างๆ ของหัวใจมนุษย์เป็นอย่างดี หลังจากที่ลูกชายของเขาป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กำลังเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเป็นครั้งที่ 4 เพราะครั้งนี้ ทั้งสองคนจะได้เข้าไปทัวร์ดูหัวใจบนโลกเสมือนจริงเป็นครั้งแรก ผ่านเทคโนโลยี Virtual Reality หรือ VR ที่เรียกว่า Stanford Virtual Heart พัฒนาโดยแพทย์ด้านหัวใจ จากโรงพยาบาลเด็ก Lucile Packard ของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ร่วมมือกับ Lighthaus บริษัทด้านเทคโนโลยี VR เนรมิตหัวใจเสมือนจริงให้เห็นแบบคมชัด 360 องศา
ในการทัวร์หัวใจของ Stanford Virtual Heart จะให้สวมใส่แว่นตา VR ซึ่งจะสามารถมองเห็น และยังจับต้องด้วยการหยิบแยกชิ้นส่วนภายในหัวใจเสมือนจริงนี้ มาสังเกตและทำความเข้าใจการทำงานของส่วนต่างๆ ของหัวใจได้อย่างชัดเจนขึ้น
นพ. เดวิด แอเซลรอด แพทย์โรคหัวใจเด็กที่ดูแลโอไรออนมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นที่ปรึกษาของ Stanford Virtual Heart บอกว่า แรกเริ่มเดิมที เทคโนโลยีนี้มีขึ้นเพื่อใช้สอนนักศึกษาแพทย์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นทัวร์หัวใจให้กับผู้ป่วยเด็ก เพื่ออธิบายภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และอธิบายขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัดอันซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นให้คนไข้และครอบครัวได้เข้าใจ
เทคโนโลยี VR ได้ช่วยทำให้โอไรออนและคุณพ่อเห็นภาพที่ชัดเจนของหัวใจในแบบที่พิเศษกว่าคำอธิบายทางการแพทย์ใดๆ
โบ อาย พ่อของโอไรออน บอกหลังจากได้เห็นหัวใจเสมือนจริงว่า เขาไม่เคยทราบมาก่อนว่าลิ้นหัวใจแต่ละส่วนมีลักษณะที่แตกต่างกันขนาดไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากที่เราได้เห็นภายในหัวใจ และช่วยให้เขาเห็นภาพของสิ่งที่โอไรออนต้องเผชิญในการผ่าตัดด้วย
สำหรับเด็กและครอบครัวที่ต้องรับมือกับการผ่าตัดหัวใจแล้ว ทัวร์หัวใจ Stanford Virtual Heart นี้ ไม่เพียงแต่สร้างความเข้าใจ แต่ยังทำให้พวกเขาอุ่นใจได้มากขึ้นในการรักษา และช่วยให้คนรอบข้างดูแลบุตรหลานผู้เป็นที่รักเหมือนดวงใจได้ดียิ่งขึ้น
ทาง Chess Studio รับทำเว็บไซต์ขอให้ทุกท่านอัพเดทและติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลานะค่ะ