5 คุณสมบัติของผู้สมัครงานที่องค์กรไม่ควรจ้าง

การเลือกคนที่เข้ามาร่วมงาน สำหรับองค์กรหลายๆ ที่มีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน  ส่วนใหญ่ก็จะมองความสามารถมาเป็นอันดับต้นๆ ตามด้วยพฤติกรรม ซึ่งผู้สมัครก็จะมีการเตรียมตัวเตรียมคำตอบในการตอบคำถามมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผู้สัมภาษณ์ก็จะมีการประเมินบุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติ Chess Studio รับทำเว็บไซต์  ขอแนะนำ 5 คุณสมบัติของผู้สมัครงานที่ไม่ควรรับเข้ามาทำงานเด็ดขาด ไม่งั้นจะมีแต่เรื่องปวดหัวตามมาอย่างแน่นอน

1. พูดถึงองค์กร/บริษัทเก่าในด้านลบ

การสอบถามถึงที่ทำงานเก่าจะต้องมีในบทสัมภาษณ์งานขององค์กรอย่างแน่นอน และสาเหตุที่ลาออกของแต่ละคนก็ต่างกันออกไป บ้างจบสวยบ้างก็จบไม่สวย  ไม่ว่าจะด้วยผิดใจกันเรื่องต่างๆ หัวหน้าแย่ เงินเดือนน้อย หรือเพื่อนร่วมงานห่วยแตก แต่อย่างไรปัญหาภายในองค์กรเก่าไม่ควรมาเล่าให้ที่ใหม่ เพราะจะกลายเป็นดูใส่ไฟให้ที่เก่าดูเลวร้าย ซึ่งผู้สัมภาษณ์มองได้ว่านิสัยของผู้สมัครเป็นคนชอบเล่าเรื่องในแง่ลบให้บุคคลที่สามฟัง และยังพูดถึงแต่ความผิดของผู้อื่นแต่ฝ่ายเดียว

ถ้าหากรับผู้สมัครที่ชอบพูดประมาณนี้เข้ามาทำงานก็มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมจับกลุ่มนินทา ถ้าหากพนักงานคนนี้ลาออกไปก็อาจจะนำเรื่องราวภายในองค์กรไปเล่าแบบเสียหายได้เช่นกัน นับเป็นประเภทบุคคลอันตรายที่องค์กรไม่ควรรับเข้ามาเด็ดขาด

ข้อชี้แนะ : สำหรับมุมมองผู้สมัครอาจจะพูดความจริง ไม่ปิดบังในกรณีที่เรื่องราวที่เล่าเป็นความจริงก็ตาม แต่ถ้าผู้สมัครเลือกพูดเรื่องจริงในแง่บวก แม้ว่าจะผ่านเหตุการณ์เลวร้ายอะไรก็ตามที่เข้ามาในชีวิตทำงาน ผู้สัมภาษณ์จะมองเห็นทัศนคติที่ดีของตัวผู้สมัครเอง

2.ไม่พูดความจริงทั้งหมด/โกหกตั้งแต่ยังไม่ได้ร่วมงาน

ข้อเท็จจริงเรื่องการรับสมัครคนเข้าทำงานนั้นยังคงต้องใช้จิตวิทยาในการสัมภาษณ์งานเข้าช่วย เพราะการดูจากรีซูเม่อาจไม่ใช่ข้อมูลถูกต้องแท้จริงทั้งหมด รีซูเม่หรือประวัติย่อของผู้สมัครนั้นยังคงต้องอาศัยการตรวจสอบจากการสัมภาษณ์และการเช็คประวัติย้อนหลัง ถ้าหากผู้สมัครมีเรื่องที่ไม่ได้บอกกับผู้สัมภาษณ์ หรือตั้งใจโกหกปิดบังความจริง หรือไม่พูดความจริงออกมา ถ้าผู้สัมภาษณ์เค้นถามแล้วพบความน่าสงสัย รู้สึกว่าผู้สมัครกำลังโกหกอยู่ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามให้ pending ผู้สมัครคนนี้ไว้ก่อนเลย จนกว่าจะตรวจสอบได้ ถ้าหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการโกหก หรือปิดบังข้อมูลก็เทผู้สมัครคนนี้ทิ้งไปได้เลย

เรื่องโกหกนั้นร้ายแรงมาก สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้ร่วมงานกันแต่ยังมีพฤติกรรมโกหก ถ้าหากรับเข้ามาทำงานก็อาจจะมีเหตุการณ์หลอกลวงกันเกิดขึ้น เกิดความไม่ไว้ใจกันภายในองค์กร แถมทำงานร่วมกับผู้อื่นยากขึ้นไปอีกด้วย

3.เช็คความขี้เกียจจากการพูดคุย

แม้ว่าการสัมภาษณ์งานจะเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่าผู้สมัครคนไหนขยันคนไหนขี้เกียจ แต่ก็มีเทคนิคที่ผู้สมัครสามารถทดสอบได้ง่ายๆ ด้วยการให้ผู้สมัครตอบคำถามยาวๆ เพื่อดูว่าเป็นคนขยันพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่ออกมาครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ อีกอย่างก็คือการถามเรื่องของบริษัท ถามในเรื่องที่คนในองค์กรควรรู้อาจจะเป็นข้อมูลที่ลึกลงกว่าปกติ สามารถหาข้อมูลได้ไม่ยากเกินไป เพื่อให้แน่ใจว่าผู้สมัครได้ทำการบ้านมาก่อนสัมภาษณ์ มีความขยันที่จะเตรียมตัวมาเพื่อเป้าหมายคือได้ทำงานในองค์กร แต่ในทางกลับกลับผู้สมัครกลับตอบคำถามไม่ได้เลยสักข้อ ก็จะเห็นได้ชัดเลยว่าผู้สมัครคนนี้มีพฤติกรรมเป็นคนขี้เกียจ อ้างอิงจากพฤติกรรมของคนขี้เกียจจะไม่เสียเวลาส่วนตัวเพื่อไปทำเรื่องน่าเบื่ออย่างการหาข้อมูลบริษัท และไม่ต้องการที่จะรับรู้อะไรเลยสักอย่างเกี่ยวกับองค์กร บุคคลแบบนี้ก็ควรปล่อยผ่านให้เขาไปหางานป้ายหน้าจะดีกว่า

4.ลาออกจากที่เก่าด้วยเหตุผลอะไรไม่สามารถบอกได้

เรื่องนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้าหากผู้สัมภาษณ์ไม่ทราบเหตุผลของการลาออกจากที่เก่าได้ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าทำไมผู้สมัครจึงตัดสินใจเริ่มงานที่ใหม่ เพราะถ้าลาออกจากที่เก่าเนื่องจากเงินเดือน ก็จะได้รู้ว่าต้องปรับเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม แต่ถ้าลาออกเนื่องจากทะเลาะกับหัวหน้าก็อาจจะประเมินพฤติกรรมของผู้สมัครได้ว่าอาจจะควบคุมยาก หรือถ้าออกด้วยเพื่อนร่วมงานก็มองได้ว่าเข้ากับคนอื่นได้ยาก อีกทั้งถ้าไม่บอกสาเหตุที่ลาออก ไม่ให้ช่องทางติดต่อกับบริษัทเก่า ก็แสดงว่ามีบางอย่างปิดบังอยู่ ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรก็น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับองค์กร

5.ที่บ้านไม่อยากให้ทำงานนี้

การบอกความจริงอาจมองได้ว่าผู้สมัครเป็นคนซื่อสัตย์ แต่การที่บอกว่าที่บ้านไม่อยากให้ทำงานนี้ แสดงว่าอาจไม่มีกำลังใจในการทำงานเพราะโดนกดดันจากทางบ้าน และคนรอบข้าง มีผลต่อการทำงานอย่างมาก ทำให้เกิดความเครียดสะสมและประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่ คุณภาพงานก็ลดลง เสี่ยงต่อการอยู่แค่ชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งจะเสียเวลาในการเปิดรับสมัครคนใหม่ แล้วยังเสียเวลาในการเรียนรู้งานอีกด้วย