รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพยุค IT

รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพยุค IT

การพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้เข้าถึงทุกพื้นที่ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพได้ใช้กลโกงต่างๆ ได้ง่ายเพราะโจรยุค IT ปรับกลโกงให้เนียนกว่าเดิมเพื่อทำให้ผู้ใช้ติดกับดักที่วางไว้ Chess Studio รับทำเว็บไซต์ จึงขอนำเสนอกลโกงที่มิจฉาชีพใช้กันในปัจจุบันให้รู้ไว้จะได้ป้องกันตัวเองไม่โดนหลอกง่ายๆ

1.แก๊ง Call Center

กลโกงนี้มีมานานแล้ว และยังมีอีกต่อไป โดยแก๊งนี้จะติดต่อหาเหยื่อผ่านโทรศัพท์โดยโทรมาหลอกเพื่อขอข้อมูล หรือหลอกให้โอนเงิน โดยพัฒนากลโกงให้เนียนโดยสร้างสถานการณ์ เช่น โทรมาหลอกว่ามียอดโอนเงินเข้าบัญชีผิดเข้าบัญชีของเหยื่อ การออกหมายศาลสั่งฟ้อง การเป็นหนี้บัตรเครดิต มีภาษีที่ต้องจ่าย สินเชื่อกู้ยืมเงิน หรือแม้กระทั่งคุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัล

ล่าสุดมีการโทรแอบอ้างว่าเป็นไปรษณีย์ไทย และให้ไปรับของที่ไปรษณีย์ ซึ่งหากเป็นไปรษณีย์ไทยจะไม่มีการโทรมาแจ้งให้ไปรับของซึ่งในความเป็นจริงแล้วถ้าไปรษณีย์มาส่งแล้วไม่เจอคนรับก็จะเขียนใบแจ้งไว้ว่าให้ไปรับของเอง

ดังนั้นถ้าหากเจอสายเข้าแบบนี้ ให้ตั้งสติดีๆ คิดทบทวนว่าได้เคยทำธุรกรรมการเงินอย่างที่มีการกล่าวอ้างมารึป่าว ถ้าไม่ใช่ให้รีบวางสายโทรศัพท์ทันที ห้ามให้ข้อมูลสำคัญอย่าง เลขบัตรประชาชน เลขบัญชี และเบอร์โทรศัพท์ เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถนำไปสวมรอยเป็นตัวเราและสามารถ reset ปิดบัญชีของเราได้เลย

นอกจากนี้เราจึงควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อป้องกันตัวเองจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพ

2.โจร Messenger

Messenger โปรแกรมแชทยอดฮิตของผู้ที่เล่น Facebook นิยมใช้สำหรับพูดคุยกันแบบเป็นส่วนตัว ทำให้มิจฉาชีพเห็นช่องทางทำมาหากินซึ่งตอนนี้มีอีกวิธีนึงที่เหล่าโจรไอทีใช้กันก็คือการแฮ็ก Facebook เพื่อสวมรอยเป็นเพื่อน ครอบครัว แล้วทำการทักแชทมาขอยืมเงิน ส่งเลขบัญชีมาให้เราโอนเงินไปให้ แต่เงินไม่เข้าบัญชีของเพื่อนแต่ไปเข้าบัญชีของมิจฉาชีพ ส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะแฮ็ก Facebook เพื่อเข้าไปขอยืมเงินจากเพื่อน หรือเพื่อนของเพื่อนโดยที่เจ้าของบัญชี Facebook ยังไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ

อันนี้ถ้าเจอเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นมิจฉาชีพจริงๆ รึป่าวให้ตั้งสติระวังตัวไว้ แล้วรีบโทรเข้าเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนคนนั้นเพื่อสอบถามว่าเพื่อนเราต้องการยืมเงินจริงหรือไม่ ถ้าเพื่อนเราไม่ได้ต้องการยืมเงินให้บอกเพื่อนว่า Facebook ของเพื่อนอาจโดนแฮ็ก ให้รีบเปลี่ยน Password ด่วน

เราสามารถสังเกตลักษณะการทักแชทของมิจฉาชีพได้ ถ้าหากไม่ได้ทักทายด้วยชื่อเล่นแต่ทักตามชื่อ Facebook หรือข้อความแปลกๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้สันนิษฐานไว้ว่าอาจจะไม่ใช่เพื่อนเราแต่เป็นมิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินเราและแฮ็ก Facebook ของเพื่อนเราไปแล้ว

3.โบรคเกอร์ประกันภัยเถื่อน

สำหรับมิจฉาชีพที่รู้ข้อมูลทั้งหมดอย่างโบรคเกอร์ประกันภัยเถื่อน หลอกขายประกันภัยรถยนต์ให้แก่ลูกค้า โดยที่รู้ข้อมูลลูกค้าทั้งหมดแล้วแอบอ้างบริษัทที่น่าเชื่อถือ แต่ตัวแทนดังกล่าวเคยมีใบอนุญาตแต่ได้โดนยกเลิกไปแล้ว จากกรณีดังกล่าวมีผู้หลงชื่อไปกว่า 100 คน สูญเงินไปกว่า 1.5 ล้านบาท ผู้เสียหายบางรายรอกรมธรรม์นานเป็นเดือนๆ ก็ยังไม่ได้รับ บางรายเกิดอุบัติเหตุเมื่อติดต่อไปยังบริษัทประกันกลับกลายเป็นว่าไม่มีข้อมูล

เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพรูปแบบนี้  ก่อนจะซื้อประกันทุกครั้งจะต้องขอชื่อจริง นามสกุล และเลขที่ใบอนุญาต แล้วนะมาตรวจสอบบนเว็บไซต์ของ คปภ. www.oicservice.oic.or.th จะได้ทราบว่าตัวแทนประกันภัยรายนี้น่าเชื่อถือหรือไม่

 

Leave a Comment