ทุกวันนี้ทุกคนเกือบทั่วทุกมุมโลกเข้าใช้ Facebook เป็นเรื่องปกติของชีวิตที่ขาดไม่ได้พอๆ กับการหายใจเลยก็ว่าได้ แต่รู้หรือไม่ว่ามุมมองต่อประเด็นของเรื่องการเข้าถึงและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ถ้าหากมองย้อนไป Facebook เคยตกอยู่ในกรณีเรื่องการทำข้อมูลรั่วไหลมาแล้ว ดังนั้นผู้ใช้เฟซบุ๊คจึงต้องรูป 5 ประเด็นสำคัญ Chess Studio รับทำเว็บไซต์ นำเสนอดังนี้
1.ตัวตนที่แท้จริงของคุณ
แน่นอนว่าเฟซบุ๊กจะรู้ตัวตนที่แท้จริงของคุณ ตั้งแต่เริ่มแรกสมัครเข้าใช้งานซึ่งผู้ใช้จะต้องให้ข้อมูลส่วนตัว และแน่นอนว่าหลายท่านระบุชื่อ-นามสกุลจริง ที่อยู่ วันเกิด เลขประจำตัวประชาชน และข้อมูลอื่นๆ ที่กฎหมายต้องการ นั่นก็แปลว่าผู้ใช้งานจะต้องส่งข้อมูลที่จำเป็นให้กับ Facebook เพื่อเก็บข้อมูลชุดดังกล่าวไว้ นอกจากนี้ หากมี Application ต้องการเชื่อมเข้าหา Facebook ก็จะเชื่อมเข้าหากันก็ต่อเมื่อผู้ใช้อนุญาต แต่ผู้ใช้งานก็จำเป็นจะต้องอนุญาตการเข้าถึงเพื่อที่จะใช้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง Facebook ได้เก็บข้อมูลพฤติกกรรม ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้ผ่านสื่อโซเชี่ยล และเมื่อนำมารวมกับข้อมูลทางการเงิน ก็จะเป็นจิกซอว์ชิ้นสุดท้ายที่ Facebook จะเข้าถึงประวัติการชำระเงินของเรารวมไปถึงเอกสารที่ใช้ยืนยันตัวตนต่าง ๆ
2.ข้อมูลทางการเงินของคุณถูกเชื่อมกับข้อมูลอื่นๆ
ข้อมูลที่ Facebook มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่รวมๆ กับข้อมูลพฤติกรรมของสมาชิกผู้ใช้ ไปจนถึงข้อมูลการใช้จ่ายผ่าน Facebook ทำให้การระบุตัวตนผู้ใช้งานนั้นเป็นไปได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น อาจจะมีผู้ใช้ที่คิดในแง่ดีว่า Facebook จะเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน แต่ะสำหรับบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อย่าง Facebook แล้ว ข้อมูลเหล่านี้อาจสร้างรายได้เป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ ในการระบุได้ว่าผู้บริโภคกลุ่มใดที่ผู้โฆษณาสามารถทำกำไรได้ ก็จะทำให้แพลตฟอร์มของ Facebook มีมูลค่ามากขึ้นสำหรับผู้ลงโฆษณา
3.การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น
หลังจากเหตุการณ์ที่มีข้อมูลรั่วไหล ทุกวันนี้การโจรกรรมทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องปกติ จากสถิติที่ มหาวิทยาลัย Maryland เก็บข้อมูลมาว่าทุก 39 วินาทีมีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นเสมอ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า ปกติแล้วระบบที่มีตัวกลางตัวเดียวนั้นไม่มีระบบใดที่จะรับรองได้ว่ามีความปลอดภัย 100% ซึ่งตัวกลางจะเก็บข้อมูลไว้จำกัดเฉพาะหน่วยงานที่เข้าถึงจึงมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการจารกรรมทางข้อมูลได้มากกว่า แน่นอนว่าข้อมูลที่ถูกขโมยไปจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดและสร้างความเสียหาย ยกตัวอย่างในปี 2561 มีการรายงานว่าเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค มูลค่าประมาณ 14.8 พันล้านดอลลาร์ จากเหตุการณ์หลอกลวงและจารกรรมทางไซเบอร์
4.มีภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
การที่ข้อมูลที่มีนั้นสามารถระบุผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ แปลว่าสิ่งนั้นกำลังเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ เมื่อข้อมูลนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันก็อาจจะถูกใช้ แม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งานก็ตาม รัฐบาลทั่วโลกต้องการข้อมูลเหล่านี้ เพื่อใช้ในการเลือกตั้งหาเสียงเพื่อที่จะได้รับใช้ชนะในการเลือกตั้ง นำมาซึ่งอำนาจที่จะตามมาในเกมการเมือง ในครึ่งปีหลัง 2561 Facebook ได้รับความร้องกว่า 110,634 คำร้องในการขอเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล ซึ่งข้อมูลที่ Facebook มี
5.ความเสี่ยงระบบเศรษฐกิจเสรีและประชาธิไตย
แม้ว่าเฟซบุ๊กจะมีการตั้งข้อกำหนดในการโฆษณา และตั้งค่าการเห็น Content บน News Feed นั่นเป็นสาเหตุให้บริษัทมากมายถูกบล็อคโฆษณาโดยไร้เหตุผล นอกจากนี้องค์กร พรรคการเมือง บุคคลาสาธารณะที่ใช้เงินจำนวนมากในการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กซึ่งได้เปรียบกว่าธุรกิจขนาดเล็ก โดยแพลตฟอร์มการโฆษณาของเฟซบุ๊กสามารถชี้เป้าที่เจาะจงได้ ระบุได้ถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ถึงความชอบและความสนใจซึ่งเติมเต็มข้อมูลในแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเจน ข้อมูลเหล่านี้ที่เฟซบุ๊กมีนำไปสู่อำนาจที่จะชี้นำความเข้าใจของคนทั้งโลกก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อเสรีภาพทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยได้ด้วย