เชื้อราสามารถรอดชีวิตจากรังสีอวกาศได้ แม้ความเข้มข้นสูงกว่าที่จะสังหารมนุษย์ได้ 100 เท่า
ในการทำงานบนอวกาศของมนุษย์ หนึ่งในสิ่งที่มีความอันตรายและเป็นปัญหามากที่สุดบนนั้นก็คงจะไม่พ้นรังสีในอวกาศหรือที่เรารู้จักกันในนาม “รังสีคอสมิก” เป็นแน่ เพราะรังสีเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะป้องกันได้ยากเท่านั้น แต่มันยังอาจส่งผลกระทบรุนแรงกับ DNA และเซลล์ของมนุษย์ได้
ว่าแต่เพื่อนๆ เชื่อกันหรือไม่ว่า บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) นั้นยังมีสิ่งมีชีวิตอยู่กลุ่มหนึ่งที่อาจสามารถทนทานต่อรังสีในอวกาศได้ แม้ว่ารังสีดังกล่าวจะมีความเข้มข้นสูงกว่าระดับที่จะสังหารคนได้ 100 เท่าก็ตาม และเจ้าสิ่งมีที่ว่านั้นก็คือ “รา” นั่นเอง
การค้นพบในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ทีมนักวิจัยจากศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน ได้ค้นพบว่ารานั้นไม่เพียงแต่จะขึ้นไปเติบโตในสถานีอวกาศเท่านั้น แต่มันยังสามารถเกาะอยู่นอกสถานีอวกาศซึ่งมีปริมาณรังสีในอวกาศสูงมากๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นแล้วคุณ Marta Cortesão หนึ่งในทีมนักวิจัยจึงได้ตัดสินใจทดลองความทนทานต่อรังสีต่างๆ ของราด้วยการฉายรังสีเอกซเรย์ ไอออนหนัก และรังสียูวี ใส่ราสายพันธุ์ Aspergillus niger ซึ่งพบได้บ่อยๆ ในสถานีอวกาศ
พวกเขาพบว่าราเหล่านี้ สามารถทนรังสีเอกซเรย์ได้ถึง 1,000 เกรย์ (หน่วยวัดการแผ่รังสี) และทนไอออนหนักได้ถึง 500 เกรย์ ทั้งๆ ที่ตามปกติไอออนหนักเพียง 5 เกรย์นั้นก็มากพอแล้วที่จะทำให้มนุษย์เสียชีวิต ตัวเลขที่ออกมานี้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่ารานั้นจะสามารถรอดชีวิตในอวกาศได้แม้แต่การเดินทางไปดาวอังคารเลย ซึ่งมันเป็นได้ทั้งข่าวดีและข่าวร้ายในเวลาเดียวกัน
หากมองว่าเป็นข่าวร้าย การทดลองครั้งนี้นับเป็นสิ่งที่ยืนยันแล้วว่าราในอวกาศนั้นกำจัดได้ยากกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพนักบินได้หากไม่ระวังให้ดี ส่วนข่าวดีนั้นคือเหล่านักวิทยาศาสตร์อาจจะประยุกต์การใช้ราเหล่านี้ ในการเดินทางในอวกาศเพื่อสร้างยาปฏิชีวนะหรือวิตามินใหม่ๆ ต่อไปในอนาคตนั่นเอง
ทาง Chess Studio รับทำเว็บไซต์ขอให้ทุกท่านอัพเดทและติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลานะคะ