สายมนุษย์เงินเดือน อย่าลืมเช็ค! ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน

สายมนุษย์เงินเดือน อย่าลืมเช็ค! ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน

สายมนุษย์เงินเดือน อย่าลืมเช็ค! ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน

การวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ หรือควรละเอียดทุกเม็ด เพราะยิ่งเงินเดือนมาก ก็จะต้องจ่ายภาษีมาก เนื่องจากการเสียภาษีเงินได้ในไทยนั้นใช้ฐานภาษีใน “อัตราก้าวหน้า” ยิ่งเงินได้มาก อัตราภาษีจะสูงตามไปด้วย

อัตราเงินได้ภาษีบุคคลธรรมดา

การค่าลดหย่อนภาษีแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาระติดตัวคุณ กระตุ้นเศรษฐกิจ ประกันชีวิตและลงทุน คุณรักพรรคการเมือง เรื่องติดค้างจากปีก่อน และบริจาคตอบแทนสังคม

สำหรับหลักการในการลดหย่อนภาษีคือ การนำค่าใช้จ่าย หรือภาระที่มีมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ หากใครมีภาระหนัก มีภาระต้องใช้จ่ายมาก ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมาหักลดได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูตนเอง พ่อแม่ และลูก ค่าดอกเบี้ยผ่อนบ้าน ค่าการศึกษาของลูก เป็นต้น

จะว่าไปแล้วรายการค่าลดหย่อนภาษีที่ฮอตฮิตที่สุด คงหนีไม่พ้นกลุ่ม”ประกันชีวิตและการลงทุน ” โดยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ลดหย่อนภาษีแล้วได้ประโยชน์ 2 ส่วน คือ ส่วนของการออมเงิน หรือ ลงทุน เพื่อสร้างวินัยและผลตอบแทนในการลงทุนให้กับเราส่วนหนึ่ง และใช้สิทธิประโยชน์ในการวางแผนภาษีอีกส่วนหนึ่ง

 

ส่วนจะเลือกออมหรือลงทุนในตัวไหนก็ตาม ให้ดูวัตถุประสงค์ในการลงทุนของเราเป็นอันดับแรกก่อน แล้วค่อยคำนึงถึงเรื่องสิทธิประโยชน์การวางแผนภาษี และในกลุ่มนี้จะมีรายการค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้อง

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท

เรื่องของเงื่อนไขนั้น จะมีเรื่องของระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี ฯลฯ

2. เบี้ยประกันสุขภาพ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

3. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท

4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท

5. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท เงื่อนไขการลงทุน ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน สำหรับการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป สำหรับปี 2562 นี้ซื้อ LTF ได้เป็นปีสุดท้ายแล้ว

6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท

โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF มีเงื่อนไขเพิ่มเติมต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี) ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 5,000 บาท อย่างน้อย ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้

7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

8. เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท

ทาง Chess Studio รับทำเว็บไซต์ขอให้ทุกท่านอัพเดทและติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลานะคะ