แม่ค้าออนไลน์ก็ต้องจ่ายภาษี

รู้หรือไม่เป็นแม่ค้าออนไลน์ก็ต้องจ่ายภาษี

หลายคนมักเลือกที่จะไม่ทำงานประจำ หันมาเป็นแม่ค้าออนไลน์แทน แต่รู้กันไหมคะว่า เป็นแม่ค้าออนไลน์ก็ต้องเสียภาษี ซึ่งกลายเป็นประเด็นทันที โดยการที่จะเก็บภาษีขายสินค้าออนไลน์นั้น เกิดจากการ ฝาก-รับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง โดยมียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ทางกรมสรรพากรจะตรวจสอบ เพื่อเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง ทาง chessstudio รับทำเว็บไซต์ จะมาสอนวิธีการคำนวณภาษีสำหรับแม่ค้าออนไลน์ แบบคร่าวๆนะคะ ไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้

1.ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

2.ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000

การคำนวณภาษีนั้น สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ

1.เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณจาก (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี   

2.เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท) โดยคำนวณ เงินได้ x 0.5% วิธีนี้คิดเป็นภาษีเลย (โดยจะใช้วิธีนี้เมื่อตัวเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี หลังจากนั้นค่อยเลือกเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า)

ซึ่งการคำนวณภาษีทั้ง 2 วิธีนั้น จะเกิดขึ้นหลังจากการหักค่าใช้จ่ายคิดตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง และหักค่าใช้จ่ายตามจริงสำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นจำนวนมากนั่นเอง